บอลสกรู 101

 

บอลสกรู (Ball screw) เป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนการเคลื่อนที่ สามารถแบ่งออกเป็น 1. การทำงานปกติ (Normal operation) เป็นการเปลี่ยนการเคลื่อนที่แบบหมุน (Rotary motion) ให้เป็นการเคลื่อนที่เชิงเส้น (Linear motion) 2. การทำงานย้อนกลับ (Back-drive) เป็นเปลี่ยนการเคลื่อนที่เชิงเส้นให้เป็นการเคลื่อนที่แบบหมุน โดยในปัจจุบันได้มีการนำบอลสกรูไปใช้ในหลากหลายประเภท เช่น เครื่องจักร CNC, เครื่องฉีดพลาสติก, เครื่องบินโดยสาร, เครื่องบินขับไล่, รถไฟ, หุ่นยนต์อุตสาหกรรม, โรงไฟฟ้านิวเคลียร์, ระบบเบรคในรถยนต์ไฟฟ้า หรือเป็นอุปกรณ์ลดแรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวสำหรับอาคารสูง และที่ประเทศญี่ปุ่นได้มีการใช้บอลสกรูของ NSK เป็นระบบช่วยป้องกันอาคารสั่นไหวจากแผ่นดินไหว

ตัวอย่างการใข้งานบอลสกรู

 

เปรียบเทียบบอลสกรูกับการเคลื่อนที่เชิงเส้นประเภทอื่น

  1. Pneumatic vs Ball screw บอลสกรูสามารถรับน้ำหนักได้มากกว่าและมีความแม่นยำสูงกว่า
  2. Hydraulic vs Ball screw บอลสกรูมีความแม่นยำมากกว่าโดยไม่ต้องใช้ถัง ของเหลว ตัวกรอง ท่อ และการบำรุงรักษาที่ืั้ยุ่งยากเหมือนระบบไฮดรอลิก
  3. Rack & Pinion vs Ball screw บอลสกรูมีระยะคลอน (backlash) น้อยกว่าแร็คแอนด์พีเนียน อีกทั้งยังมีความแม่นยำและเที่ยงตรงสูงกว่า
  4. Linear motor vs Ball screw บอลสกรูสามารถเคลื่อนย้ายโหลดที่หนักกว่าได้ และมีราคาถูกกว่า
  5. Acme feed screw vs Ball screw บอลสกรูเป็นการเคลื่อนที่โดยเม็ดบอลทำให้มีแรงเสียดทานน้อยกว่า และประสิทธิภาพการทำงานมากกว่า

ส่วนประกอบของบอลสกรูประกอบไปด้วย แกนเพลา หัวนัท เม็ดบอล และอุปกรณ์ในการกลับเม็ดบอล ทั้งหมดเหล่านี้เป็นส่วนประกอบหลักของบอลสกรูสำหรับการเคลื่อนที่ของลูกบอลอย่างต่อเนื่องภายในบอลสกรู ประสิทธิภาพของบอลสกรูวัดได้จากปัจจัยพื้นฐาน 4 ประการ ได้แก่ เกรดความแม่นยำ (Accuracy grade), เส้นผ่านศูนย์กลางเพลา (Shaft diameter), ระยะลีด (Lead) และระยะชัก (Stroke)

ส่วนประกอบบอลสกรู

 

ประเภทหัวนัทบอลสกรูและรูปแบบการหมุนกลับเม็ดของหัวนัทบอลสกรู

  1. End deflector ท่อกลับเม็ดจะอยู่บริเวณหน้าแปนหัวนัทบอลสกรู ข้อดีของหัวนัทประเภทนี้คือมีหัวนัทมีขนาดเล็ก เสียงเบา สามารถใช้กับงานความเร็วรอบสูงได้
  2. Ball return tube type สามารถสังเกตุเห็นท่อกลับเม็ดได้จากภายนอก ข้อดีของหัวนัทบอลสกรูประเภทนี้คือสามารถปรับเปลี่ยน ขนาดเพลา ระยะลีด จำนวนปากของเพลา ทำให้หัวนัทบอลสกรูชนิทนี้เป็นที่นิยมและมีมากในเครื้องจักรและอุปกรณ์ต่างๆ
  3. Deflector (bridge) type หัวนัทบอลสกรูประเภทนี้มีการออกตัวกลับเม็ดแบบเกือกม้าไว้ที่หัวนัทแล้ว ทำให้หัวนัทมีขนาดเล็กมากได้ ข้อดีของหัวนัทบอลสกรูชนิทนี้คือขนาดของหัวนัทที่มีขนาดเล็ก เหมาะกับงานที่มีเนื้อที่จำกัดและต้องการความละเอียดในการเคลื่อนที่สูง
  4. End cap type เม็ดบอลจะถูกกลับเม็ดที่หัวและท้ายของนัทบอลสกรู หัวนัทบอลสกรูประเภทนี้เหมาะกับงานประเภทต้องการระยะลีดสูง เนื่องจากความซับซ้อนของระบบกลับเม็ดทำให้หัวนัทนี้ไม่เป็นที่นิยม

ตัวอย่างประเภทหัวนัทบอลสกรูของ NSK

 

ความแม่นยำของระยะลีด (Lead accuracy)

ความแม่นยำของระยะลีดเป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญของบอลสกรู เนื่องจากบอลสกรูมักถูกนำไปใช้ในงานที่ต้องการความผิดพลาดน้อย โดยบอลสกรูความเที่ยงตรงสูงของทาง NSK นั้นมีค่าความแม่นยำของระยะลีดตั้งแต่ C0 ถึง C5 โดยมีการควบคุมโดย JIS standards การเลือกความแม่นยำของระยะลีด (Lead accuracy) ที่ผิดอาจจะส่งผลต่อการทำงานของเครื่องจักรได้ ค่าที่มีความสำคัญกับความแม่นยำของระยะลีดมีดังนี้

  1. νu    พิสัยค่าความแม่นยำภายในระยะเกลียววิ่งทั้งหมด
  2. ν300 พิสัยค่าความแม่นยำภายในระยะ 300 มม. วัดจากเคลื่อนที่บริเวณใดๆภายในระยะเกลียววิ่ง
  3. ν  พิสัยค่าความแม่นยำที่เกี่ยวข้องกับการหมุน 1 รอบบริเวณใดๆภายในระยะเกลียวิ่ง

 

สำหรับงานที่ให้ความสำคัญกับค่าความเที่ยงตรงของชิ้นงานสูงให้เลือกใช้บอลสกรูที่มีค่า Accuracy grade ตั้งแต่ C5 ขึ้นไป เช่น เครื่องเจียระไน (Grinding machine) เป็นต้น สำหรับงานที่ไม่ต้องการความแม่นยำสูง เช่น งานประเภทขนย้ายชินงาน เป็นต้น สามารถเลือกบอลสกรูที่มีค่า Accuracy grade เป็น Ct7 หรือ Ct10 ได้ ค่า Accuracy grade ยิ่งสูง (ค่า C น้อย) ราคาบอลสกรูจะยิ่งมีราคาที่สูง เนืองจากการผลิตบอลสกรูจะมีความซับซ้อนและต้องใช้เครื่องจักรที่มีเทคโนโลยีขั้นสูงในการผลิตกว่าบอลสกรูที่มีค่า Accuracy grade น้อย (ค่า Ct)

ตารางแสดงค่า ν300 ของบอลสกรู NSK ในแต่ละค่า Accuracy grade

 

ตาราง Accuracy grade ที่แนะนำตามชนิดของเครื่องจักรและแกนติดตั้งบอลสกรู

 

ตาราง Accuracy grade ที่แนะนำตามประเภทอุตสาหกรรมและการทำงาน